24 กุมภาพันธ์ 2552

เอื้องช้างน้าว

ชื่ออื่นๆ : เอื้องตาควาย
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl.
วงศ์ : ORCHIDACEAE


เอื้องช้างน้าวเป็นกล้วยไม้ อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง เอื้องช้างน้าวมี ลำลูกกล้วยทรงกระบอก ยาวเรียว ต้นอ่อนมีประสีม่วง เส้นสีม่วงตามความยาวของลำลูกกล้วย ลำลูกกล้วยยาว 1-2 เมตร แตกกอใหญ่มาก ลำแก่จะทิ้งใบ
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ ยาวรี ยาว 10-15 ซม. กาบใบมีเส้นสีม่วง

ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ช่อดอกเกิดที่ปลายลูกกล้วยที่แก่ แตกที่ข้อปลายสุด ช่อดอกห้อยลง ดอกแต่ละช่อมี 7-10 ดอก ขนาดดอก 7-12 ซม. ดอกสีเหลืองอ่อนกระจาย กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ขอบกลีบดอกเรียบ กลีบปากรูปไข่แผ่ออก มีขนด้านบนของกลีบปาก มีแต้มสีเลือดหมูเข้มหรือม่วงดำ 2 แต้มด้านในของกลีบปาก ผิวกลีบทุกกลีบเป็นมัน ดอกบานเดือนมกราคม
ถึงเดือน มีนาคม

การขยายพันธุ์ แยกต้น เพาะเมล็ด
ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เลย ขอนแก่น ภาคตะวันตกได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี อุทัยธานี ภาคใต้ ได้แก่ ตรัง กระจายพันธุ์ ที่ เนปาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย อัสสัม เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียตนาม มาเลเซีย ชอบแสงแดดจัด พบอยู่บนกิ่งไม้ คบไม้ในป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ






















1 ความคิดเห็น: