28 กุมภาพันธ์ 2552

ทองกวาวเหลือง

ประโยชน์

ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ
ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ
ยาง แก้ท้องร่วง
เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น
แต่จะลดจำนวนอสุจิ
เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน
ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร
ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

ความเชื่อ ของไทย ไม้มงคล


คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก
เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติ
หรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
ควรปลูกต้นทองกวาวไว้ทางทิศใต้จะเป็นมงคลยิ่ง ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์
เพราะโบราณเชื่อ ว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าให้เป็น
สิริมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ที่ประกอบคุณงาม
ความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก




นอกจากทองกวาวส้มแล้ว ยังมี ทองกวาวเหลือง ทีมีความงดงามไม่แพ้กัน


ทองกวาวเหลืองราคาค่อนข้างแพง ต้นเล็กนิดเดียว
สูงประมาณ 40-50 cm ราคา500 บาท


ต้นนี้ถ่ายจากริมคลองด้านหลังกรมทหารสัตว์บก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่















26 กุมภาพันธ์ 2552

เอื้องสายน้ำผึ้ง

Dendrobium primulinum Lindl.

กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาวรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 0.8-1.3 ซม.
ยาว 40-80 ซม. ห้อยลง
ใบ รูปรีแกม ขอบขนาน กว้าง 3 ซม. ยาว 10-12 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก
ดอก ออกตามข้อตลอดความยาวต้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอก สีชมพูเข้ม
กลีบปากแผ่มนเกือบกลมสีเหลืองอ่อน มีขนนุ่ม ขอบกลีบ หยักละเอียด
ดอกบานเต็มที่กว้าง 4.5 ซม. มีกลิ่นหอม พบตามป่าผลัดใบถึงป่าดิบเขา
ที่ระดับความสูง 700-1,600 เมตร ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม


เอื้องสายน้ำผึ้ง บานแข่งกับ เอื้องสายม่วง,หรือสายครั่งยาว

เห็นเส้นสาย คล้ายเลือดผาดของสาว ๆ









24 กุมภาพันธ์ 2552

เอื้องสายม่วง,สายครั่งยาว

Dendrobium lituiflorum Lindl.

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นรูปคล้ายแท่งดินสอกลมห้อยลง ยาว 50-70 เซนติเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.8 เซนติเมตร ใบรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1.5-2
เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติ เมตร ทิ้งใบเมื่อผลิดอก
ดอกออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแขนงสั้น ๆ ตามข้อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอก
สีม่วงอมแดง กลีบปากสีขาวมีขนนุ่มและมีแต้มสีม่วงอมแดง เข้มที่ขอบกลีบ
และกลางกลีบดอกบานเต็มที่กว้าง 6 เซนติเมตร

พบตามป่าดิบที่ระดับความสูง 300-800 เมตรทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก
ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม กระจายพันธุ์ อินเดีย จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ไทย และลาว



พบเอื้องสายม่วง หรือเอื้องสายครั่งยาว ที่เชียงใหม่เมื่อปีก่อน
อยากหามาประดับที่บ้านชมภูแต่ไม่เจอ เพิ่งจะมีโอกาสเจอเธอ
เมื่อต้นเดือน ก.พ.52 นี้เอง


ช่อยาวสวย


ดอกใหญ่,มีกลิ่นหอม























เอื้องช้างน้าว

ชื่ออื่นๆ : เอื้องตาควาย
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl.
วงศ์ : ORCHIDACEAE


เอื้องช้างน้าวเป็นกล้วยไม้ อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง เอื้องช้างน้าวมี ลำลูกกล้วยทรงกระบอก ยาวเรียว ต้นอ่อนมีประสีม่วง เส้นสีม่วงตามความยาวของลำลูกกล้วย ลำลูกกล้วยยาว 1-2 เมตร แตกกอใหญ่มาก ลำแก่จะทิ้งใบ
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ ยาวรี ยาว 10-15 ซม. กาบใบมีเส้นสีม่วง

ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ช่อดอกเกิดที่ปลายลูกกล้วยที่แก่ แตกที่ข้อปลายสุด ช่อดอกห้อยลง ดอกแต่ละช่อมี 7-10 ดอก ขนาดดอก 7-12 ซม. ดอกสีเหลืองอ่อนกระจาย กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ขอบกลีบดอกเรียบ กลีบปากรูปไข่แผ่ออก มีขนด้านบนของกลีบปาก มีแต้มสีเลือดหมูเข้มหรือม่วงดำ 2 แต้มด้านในของกลีบปาก ผิวกลีบทุกกลีบเป็นมัน ดอกบานเดือนมกราคม
ถึงเดือน มีนาคม

การขยายพันธุ์ แยกต้น เพาะเมล็ด
ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เลย ขอนแก่น ภาคตะวันตกได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี อุทัยธานี ภาคใต้ ได้แก่ ตรัง กระจายพันธุ์ ที่ เนปาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย อัสสัม เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียตนาม มาเลเซีย ชอบแสงแดดจัด พบอยู่บนกิ่งไม้ คบไม้ในป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ






















17 กุมภาพันธ์ 2552

เอื้องสิงโตรวงข้าว

พบเอื้องสิงโตรวงข้าวที่เชียงใหม่ ไม่นานมานี้เอง จึงชวนเธอมาอยู่ที่บ้านชมภูด้วยกัน


ช่วงตรุษจีนกลับบ้านพบว่าสาวน้อยกำลังตั้งท้อง ออกรวงมาให้ชม


กลีบเล็ก ๆ ละเอียดมาก เหมือนรวงข้าวที่เรียงติดกัน


ดูไปดูมาก็งามไม่ใช่น้อย


ปกติบ้านเราไม่ค่อยมีเอื้องให้ชมเท่าไหร่


เค้าบอกว่าปีหนึ่งจะเห็นเธออวดความงามแค่ 1 ครั้งเท่านั้น เสียดายจัง